สำนักงาน ก.พ.ร. โดยสำนักงานเลขาธิการ ร่วมกับกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร จัดการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับข้าราชการภายในสำนักงาน ในหัวข้อ องค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเป็นวิทยากรบรรยาย และพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ พร้อมตอบปัญหาคาใจในการทำงานเกี่ยวกับการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ ซึ่งกิจกรรมนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2549 ณ ห้องประชุม ก.พ.ร. ชั้น 5 สำนักงาน ก.พ.ร.
รศ.ดร.พสุ
เกริ่นนำว่า การจะพิจารณาว่าองค์กรใดเป็น องค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง หรือ องค์กรที่มีความเป็นเลิศ นั้น หากเป็นภาคธุรกิจเอกชน จะพิจารณาได้ไม่ยาก
โดยดูจากผลประกอบการและผลการดำเนินงาน
ซึ่งต้องดีต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน ไม่ใช่เพียงปีเดียว
รวมทั้งรางวัลต่าง ๆ ที่องค์กรได้รับ เช่น รางวัลคุณภาพแห่งชาติ
(Thailand Quality Award : TQA)
รางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (Malcolm Baldrige
National Quality Award : MBNQA) เป็นต้น
สำหรับในภาคราชการนั้น
อาจพิจารณาได้ยากกว่าภาคเอกชน
เพราะไม่สามารถวัดจากผลกระกอบการได้
แต่หากจะพิจารณาความเป็นเลิศของส่วนราชการแล้ว
ก็น่าจะอยู่ที่การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์
และพันธกิจได้ดี |
|
|
องค์ประกอบขององค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง |
|
จากการศึกษาแนวคิดต่าง
ๆ ที่กล่าวถึงคุณลักษณะหรือองค์ประกอบของการเป็น องค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง (High Performance
Organization : HPO) พบว่า แต่ละแนวคิดจะเกี่ยวข้องกับการวางแผน
การปฏิบัติ และการติดตามผล ซึ่งหากองค์การสามารถบริหารจัดการใน 3
ส่วนนี้ได้ดี ก็จะทำให้องค์กรมีผลประกอบการดี
และนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูงได้
ดังนั้น
จึงสามารถสรุปกรอบแนวคิดหลักของการเป็น องค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง
ได้ว่า การบริหารยุทธศาสตร์
เป็นปัจจัยที่จะนำองค์กรไปสู่ความเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง
ซึ่งการบริหารยุทธศาสตร์ มี 3 องค์ประกอบ
คือ
1.
การกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategy Formulation)
2.
การแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ (Strategy Implementation and
Operational Excellence)
3.
การประเมินผลและติดตามการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ (Strategy Measurement
and Evaluation)
1. การกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategy
Formulation)
แนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์มี
4 องค์ประกอบ คือ
1.1
การวิเคราะห์ทางยุทธศาสตร์
1.2
การกำหนดทิศทาง
1.3
การวางยุทธศาสตร์
1.4
การสื่อสารและถ่ายทอดยุทธศาสตร์
2.
การแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ (Strategy Implementation and
Operational Excellence)
ประกอบด้วย
2 ส่วนหลัก ๆ คือ
2.1 Strategic Alignment หรือ
การทำให้เกิดความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ กล่าวคือ
ในการจะทำให้ยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้เกิดผลในการปฏิบัตินั้น
ต้องมีการปรับการบริหารงานภายในและองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในองค์กร
เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้อง
และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับยุทธศาสตร์ที่วางไว้
ซึ่งองค์ประกอบต่าง ๆ ที่จะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์
เช่น -
โครงการและแผนงาน -
โครงสร้างและกระบวนการทำงาน -
สมรรถนะและความสามารถของบุคลากร |
|
-
วัฒนธรรมและค่านิยมในการทำงาน
-
ความรู้และระบบข้อมูล -
การประเมินผลในทุกระดับ (เพื่อให้เกิด Accountability) -
การจูงใจและผลตอบแทน |
2.2 Strategic Capability
เป็นความสามารถที่องค์กรควรจะมี
ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะทำให้ยุทธศาสตร์ถูกขับเคลื่อนและเกิดการปฏิบัติ
เช่น -
ทักษะ ความสามารถของผู้บริหาร -
ความมุ่งมั่นของผู้บริหารในการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ -
การมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ -
นวัตกรรมและความยืดหยุ่น -
การทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น -
การแบ่งปันความรู้ที่สำคัญภายในองค์กร
3.
การประเมินผลและติดตามการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ (Strategy
Measurement and Evaluation) ประกอบด้วย 3.1
ระบบในการติดตามและทบทวนผล 3.2
การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ ทั้งนี้
องค์กรควรนำผลที่ได้จากการติดตามประเมินผล
กลับไปเป็นข้อมูลเพื่อช่วยในการกำหนดยุทธศาสตร์ในปีต่อ ๆ
ไปด้วย |
|
|
ความเชื่อมโยงของเครื่องมือทางการบริหารจัดการกับการบริหารยุทธศาสตร์ |
|
เครื่องมือทางการบริหารจัดการต่าง
ๆ ที่ภาคราชการใช้อยู่นั้น มีอยู่มากมาย
ซึ่งสามารถเข้าไปช่วยในกระบวนการบริหารยุทธศาสตร์ ทั้ง 3
องค์ประกอบเพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนตนเองไปสู่การเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูงได้
ดังนี้
1.
การกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategy Formulation)
2.
การแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ (Strategy Implementation and
Operational Excellence)
3.
การประเมินผลและติดตามการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ (Strategy Measurement
and Evaluation)
|
กระบวนการบริหารจัดการโดยนำเครื่องมือต่าง ๆ
มาใช้ |
|
เริ่มจาก
การกำหนดยุทธศาสตร์ขององค์กร
โดยการวิเคราะห์บริบทและปัจจัยต่าง ๆ แล้วนำมากำหนดเป็นวิสัยทัศน์
ทิศทางขององค์กร จากนั้นแปลงไปสู่ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์
เมื่อได้เป้าประสงค์แล้วก็นำมาจัดทำเป็น Strategy
Map เพื่อให้เห็นภาพความเชื่อมโยงของเป้าประสงค์
ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถคิดเป้าประสงค์ได้ครอบคลุมทุกมิติ
ทุกมุมมอง
เมื่อได้
Strategy Map แล้ว ก็เป็นการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ โดยนำ Strategy
Map มากำหนดในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่
กำหนดตัวชี้วัด (KPI) และ Target
เพื่อใช้วัดผลว่าการดำเนินงาน
บรรลุเป้าประสงค์หรือไม่
พิจารณาว่า อะไรคือความเสี่ยง (Risks)
หรือปัจจัยที่จะทำให้ไม่บรรลุ
เป้าประสงค์ โดยนำเรื่องการบริหารความเสี่ยงมาใช้
กำหนดว่า
ตำแหน่งงานใดที่เป็นตัวผลักดันให้บรรลุเป้าประสงค์ใน แต่ละเป้าประสงค์
และตำแหน่งงานนั้นควรจะมี Competency
อะไรบ้าง
กำหนดว่า ความรู้อะไรที่องค์กรต้องมีเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์
องค์กรมีความรู้นั้นอยู่หรือไม่
และจะมีกระบวนการในการบริหาร
ความรู้อย่างไร
พิจารณาว่า
อะไรคือโครงการสำคัญที่จะต้องผลักดันเพื่อให้เป้าประสงค์
เกิด รวมทั้งกำหนดงบประมาณด้วย |
|
พิจารณาว่า
กระบวนการหรือวิธีการทำงานในปัจจุบันสามารถทำให้บรรลุเป้าประสงค์หรือไม่
ถ้าไม่ได้ จะต้องมีการ
ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานอย่างไร
พิจารณาว่า
วัฒนธรรมองค์กรตอบสนองต่อการทำให้เป้าประสงค์บรรลุหรือไม่
พิจารณาระบบข้อมูลว่า
มีข้อมูลที่สามารถในมาใช้ในการตัดสินใจหรือไม่
การแปลงเป้าประสงค์ขององค์กรไปสู่ระดับหน่วยงาน
และถ่ายทอดลงไปสู่ระดับบุคคล และเชื่อมโยงกับระบบในการจูงใจ
เพื่อให้ทุกคนในองค์กรช่วยกันผลักดันในบรรลุเป้าประสงค์
ทั้งนี้
รศ.ดร.พสุ กล่าวว่า ในการพิจารณาหรือกำหนดในเรื่องต่าง ๆ นั้น
ไม่จำเป็นต้องทำตามขั้นตอนดังกล่าว
องค์กรอาจพิจารณาในเรื่องใดก่อนก็ได้ หรือจะทำควบคู่กันไปก็ได้ เช่น
การกำหนด KPI กับการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน นอกจากนี้ ในบางเรื่อง
หากองค์กรพิจารณาว่าตนมีความพร้อมอยู่แล้วและสามารถผลักดันยุทธศาสตร์ได้
ก็อาจจะไม่ต้องกำหนดขึ้นมาใหม่ เช่น
หากองค์กรมีความรู้ที่พร้อมอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องกำหนดในเรื่องนี้
จากนั้น
เมื่อมีการดำเนินงานเกิดขึ้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การติดตามประเมินผล
โดยพิจารณาเปรียบเทียบผลการดำเนินงานเป็นไฟเขียว-เหลือง-แดง
ซึ่งเป้าประสงค์ที่มีผลการดำเนินงานออกมาเป็นสีเขียว
ก็จะนำมาถ่ายทอดต่อ และแบ่งปันความรู้ร่วมกัน โดยนำเรื่อง Knowledge
Management และ Best Practice Sharing เข้ามาใช้
|
หากผลการดำเนินงานใดออกมาเป็นไฟแดง
ก็จะต้องมาทำ Root Cause Analysis โดยวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา
และปัจจัยที่ทำให้ไม่บรรลุผล โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ
และเมื่อได้สาเหตุแล้วก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนในด้านต่าง ๆ เช่น
กระบวนการ และขีดความสามารถขององค์กรและบุคลากร
นอกจากนี้
ผลที่ได้จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา รวมทั้งเครื่องมืออื่น ๆ
เช่น การวิเคราะห์ความเสี่ยง
ก็สามารถนำกลับไปเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์บริบทและปัจจัย
เพื่อนำไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง
และยุทธศาสตร์ขององค์กรต่อไปได้
ทั้งนี้
นอกจากกระบวนการต่าง ๆ แล้ว
การที่จะก้าวไปสู่การเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูงได้
ยังจะต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นบริบทแวดล้อมภายนอกด้วย เช่น
ทักษะ ความสามารถของผู้บริหาร ความมุ่งมันของผู้บริหาร
การมีหน่วยงานรับผิดชอบในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
นวัตกรรมและความยืดหยุ่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น
การแบ่งปันความรู้ที่สำคัญภายในองค์กร
นอกจากการบรรยายในเรื่องการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์แล้ว
รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ ยังได้ยกตัวอย่าง กรณีศึกษา
เพื่อให้เห็นภาพความเชื่อมโยงของการนำเครื่องมือทางการบริหารจัดการต่างๆ
ไปใช้ในการบริหารยุทธศาสตร์
เพื่อช่วยพัฒนาองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง พร้อมตอบคำถามต่าง ๆ
ที่ข้าราชการสำนักงาน ก.พ.ร.
ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการบริหารงานเชิงกลยุทธ์
เพื่อเป็นแนวทางในการให้คำปรึกษากับส่วนราชการต่าง ๆ ต่อไป
|